จดทะเบียนบริษัท เริ่มต้นอย่างไรใช้เงินเท่าไหร่ เรามีคะแนำนำเบื้องต้นให้
การก่อตั้งธุรกิจที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ส่วนมากเราจะนึกถึงการจดทะเบียนบริษัท ด้วยเหตุผลที่ว่าการจดทะเบียนบริษัทจะช่วยทำให้กิจการของคุณดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้สินค้าและบริการที่เปิดจำหน่ายอยู่นั้นได้รับความสนใจจากผู้บริโภค แต่ก่อนที่เราจะทำการจดทะเบียนบริษัทนั้นเรามาดูความหมายกันก่อนดีกว่า
บริษัทคือ
องค์กรธุรกิจหรือการค้าที่มีขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แบ่งมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน โดยมูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท และผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบหนี้ของบริษัทไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการทำการค้าระหว่างประเทศการจดทะเบียนบริษัทก็ถือเป็นข้อได้เปรียบอีกเช่นกัน เพราะในต่างประเทศจะคุ้นเคยรูปแบบการประกอบการในนามบริษัทมากกว่าแบบห้างหุ้นส่วน และถ้าคุณต้องการจดทะเบียนบริษัทจะมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
ขั้นตอนในการจดทะเบียน
1.เริ่มจากการตั้งชื่อบริษัทที่เราต้องการจดทะเบียน แล้วทำการยื่นจองต่อนายทะเบียน โดยควรเตรียมไว้อย่างน้อย 3 ชื่อ เพื่อป้องกันการเกิดชื่อซ้ำกันของบริษัท ห้างร้าน หรือนิติบุคลที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งนายทะเบียนจะตรวจสอบรายชื่อจากชื่อแรกไปชื่อสุดท้าย สำหรับการจองสามารถจองด้วยตนเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือถ้าเป็นในต่างจังหวัดสามารถจองได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีบริการจองผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ได้ทางเว็บไซด์ www.dbd.go.th
2.จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อยื่นต่อนายทะเบียน โดยมีผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือ สำหรับหนังสือบริคณห์สนธิจะหมายถึง หนังสือที่ทำเพื่อแสดงความจำนงในการขอจัดตั้งบริษัท โดยจะมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
– ชื่อบริษัทที่จองไว้ จะมีคำนำหน้าว่า “บริษัท” และมีคำลงท้ายว่า “จำกัด”
– ที่อยู่หรือที่ทำการบริษัท
– วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท
– ระบุจำนวนเงินที่ใช้ในการลงทุน และจำนวนหุ้นที่ต้องมีราคาไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
– ข้อมูลรายละเอียดของผู้จัดตั้งบริษัท ที่ถูกกำหนดไว้ว่าต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
จากนั้นเมื่อชื่อบริษัทที่จองไว้ไม่ซ้ำกับที่อื่น เจ้าพนักงานก็จะทำการอนุมัติให้สามารถใช้ชื่อที่จองไว้ได้ ซึ่งผู้ก่อตั้งจะต้องทำการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน นับจากวันที่ทราบ หากผู้ก่อตั้งทำการล่าช้ากว่ากำหนดหรือเกิน 30 วันไปแล้ว จะถือว่าสละสิทธิในชื่อนั้นและจะต้องทำการจองชื่อใหม่หรือเริ่มดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้น
3.เปิดให้จองซื้อหุ้นจนหมด จากนั้นให้ทำการประชุมจัดตั้งบริษัทซึ่งการประชุมจะต้องจัดขึ้นหลังจากวันออกหนังสือเชิญประชุมอย่างน้อย 7 วัน สำหรับการประชุมก็เพื่อทำข้อตกลงในเรื่องต่างๆ ดังนี้
– ข้อบังคับบริษัท
– ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
– แต่งตั้งกรรมการบริษัท และกำหนดผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารแทนบริษัท
– แต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
– รับรองเอกสารต่างๆ ที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัท เช่น สัญญาเช่าสถานที่หรืออาคารเพื่อเป็นที่ตั้งบริษัท รวมไปถึงสัญญาซื้อขายวัตถุดิบ สัญญาจ้างพนักงาน เป็นต้น เพราะสัญญาต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ก่อตั้งบริษัทจึงไม่มีผลต่อบริษัท ดังนั้นเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทเกิดขึ้นแล้วจึงต้องนำสัญญาต่างๆ เหล่านี้เข้าที่ประชุมและทำการรับรองสัญญาเพื่อให้ถูกต้องและเป็นผลผูกพันกันบริษัทต่อไป
– กำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้ก่อตั้งกิจการ หมายถึงการกระทำต่างๆ ที่ผู้ก่อตั้งได้ทำไว้ตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งบริษัท สำหรับค่าตอบแทนนี้ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมในวันจัดตั้งบริษัทเช่นกัน
– กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ และบุริมสิทธิ ซึ่งหุ้นทั้งสองจะแตกต่างกันตรงที่ หุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลมากกว่า และถ้าหากเลิกกิจการหุ้นบุริมสิทธิก็จะได้รับเงินคืนค่าหุ้นก่อน แต่ผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงหรือทำการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทเหมือนหุ้นสามัญ ซึ่งบางบริษัทอาจจะกำหนดให้มีแต่หุ้นสามัญเพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
– กำหนดวิธีการชำระค่าหุ้น ซึ่งสามารถชำระเป็นอย่างอื่นได้นอกเหนือจากเงินสด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุม
4.เมื่อสรุปข้อตกลงในที่ประชุมกันเรียบร้อยแล้วผู้ก่อตั้งจะต้องมอบหมายหน้าที่ต่างๆ ให้กับคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการจะต้องดำเนินการเรียกเก็บเงินค่าหุ้นโดยสามารถเรียกเก็บทั้งหมดทีเดียว หรืออย่างน้อย 25% ของมูลค่าหุ้น แต่จะเป็นแบบไหนนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติในที่ประชุมจัดตั้งบริษัท
5.ทำการชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามกำหนดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทั้งหมดข้างต้นคือขั้นตอนในการจดทะเบียนบริษัทที่คุณควรทราบ ซึ่งถ้ากำลังคิดจะจดทะเบียนอันดับแรกคุณควรศึกษารายละเอียดต่างๆ เหล่านี้กันเสียก่อน เพื่อให้สามารถการจดทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน และไม่เสียเวลา
ย่างไรใช้เงินเท่าไหร่ เรามีคะแนำนำเบื้องต้นให้